วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

๓) ด้านสังคม

๓) ด้านสังคม
                        ๑.นิราศนรินทร์คำโคลงมีเนื้อหาสาระที่จรรโลงวัฒนธรรมและจริยธรรมของสังคมโดยเนื้อหากล่าวถึงบ้านเมืองที่งดงามด้วยวัดและปราสาทราชวัง พระพุทธศาสนารุ่งเรือง ประชาชนก็ซาบซึ้งในพระธรรมคำสอน ซึ่งความเจริญและความสงบสุขทั้งปวงนี้เกิดจากพระบารมีของพระมหากษัตริย์
                        ๒.นิราศนรินทร์คำโคลงมีคุณค่าที่สะท้อนให้เห็นสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยรัชกาลที่๒ สภาพของสังคมของบ้านเมืองในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี


            นิราศนรินทร์คำโคลงเป็นตัวอย่างของโคลงนิราศชั้นเยี่ยมที่เปี่ยมด้วยความไพเราะและมีคุณค่าทางวรรณศิลป์เหมาะสำหรับเยาวชนจะนำไปเป็นแบบอย่างในการประพันธ์โคลงที่มีเนื้อหาเป็นการพรรณนาอารมณ์ ความรัก และธรรมชาติ รวมทั้งรูปแบบทางฉันทลักษ์ของร้อยกรองไทยได้เป็นอย่างดี

๒) ภาพพจน์

) ภาพพจน์
๒.๑) การเปรียบเทียบเกินจริง คือ การกล่าวเกินจริง เพื่อให้ได้คุณค่าทางอารมณ์เป็นสำคัญในโครงบทที่ ๑๓๙ที่ว่า
                                   เอียงอกเทออกอ้าง              อวดองค์  อรเอย
                            เมรุชุบสมุทรดินลง                     เลขแต้ม
                            อากาศจักจารผดง                        จารึก พอฤา
                            โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม                    อยู่ร้อนฤาเห็น
กวีใช้คำ เอียงอกเท แทนสิ่งที่อยู่ในใจ ใช้เขาพระสุเมรชุบน้ำและดินแทนปากกาเขียนข้อความในโอกาส ซึ่งล้วนเป็นลักษณะที่เกินความจริง
            ส่วนบทที่แสดงการคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รัก ไม่มีบทใดหนักแน่นเท่ากับโครงบทที่ ๑๔๐ ที่ว่า
                                                 ตราบขุคิริข้น              ขาดสลาย แลแม่
            รักบ่หายตราบหาย                               หกฟ้า
สุริยจันทรขจาย                                    จากโลก ไปฤา
ไฟแล่นล้างสี่หล้า                                ห่อนล้างอาลัย
โครงบทนี้เป็นตัวอย่างของการใช้กวีโวหารเปรียบเทียบที่โลดโผนอีกบทหนึ่งกวีใช้ภาพพจน์ชนิดอธิพจน์ ซึ่งเป็นการกล่าวเกินจริงเพื่อสร้างอารมณ์และความรู้สึก ในที่นี้เมื่ออ่านแล้ว นักเรียนจะเห็นโอกาสที่กวีจะสิ้นอาลัยนางมิอาจเป็นไปได้เลย เพราะกว่าที่ขุนเขา สวรรค์ทั้ง๖ชั้น ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์จะสูญสลายไปจากโลกนั้น คงนานแสนนานจนกำหนดนับมิได้และกว่าจะมีไฟบรรลัยกัลป์มาล้างโลกทั้ง ๔ นั้น ก็ต้องกินระยะเวลาอันยาวนานที่มิอาจนับได้เช่นกัน ดังนั้น โครงบทนี้จริงเป็นโครงปิดฉากการคร่ำครวญได้อย่างงดงาม โดยการให้ปฏิญญาที่มีน้ำหนักมากที่สุดแก่นางคือ กวีจะมิมีวันสิ้นรักและอาลัยนางนั้นเอง
                        ๒.๒) การใช้บุคคลวัต กวีใช้การสมมติสิ่งต่างๆ ที่ไม่ใช่มนุษย์ให้มีกิริยาอาการความรู้สึกเหมือนมนุษย์
                                                จากมามาลิ่วล้ำ                                    ลำบาง
                                    บางยี่เรือราพลาง                                              พี่พร้อง
                                    เรือแผงช่วยพานาง                                           เมียงม่าน มานา
                                    บางบ่รับคำคล้อง                                             คล่าวน้ำตาคลอ

                        จะเห็นได้ว่ากวีใช้บางยี่เรือและเรือแผงให้มีกิริยาเหมือนมนุษย์ คือ ให้บางยี่เรือช่วยเอาเรือแผงไปรับนางมาแต่นางยี่เรือก็ไม่รับคำ

๑) ด้านกลวิธีการแต่ง

) ด้านกลวิธีการแต่ง
๑.การใช้คำ กวีเลือกใช้คำที่งดงามทั้งรูป ความหมาย และเสียงไพเราะ โดยเฉพาะร่ายสดุดีที่มีลักษณะเด่นสะดุดความสนใจ เพราะเป็นบทสดุดีที่ไม่มีลักษณะขรึมขลังศักดิ์สิทธ์จนเกินไป แต่
สง่างามและไพเราะยิ่ง ไม่เรียบง่ายดาดๆ เหมือนร่ายสุภาพที่แต่งกันทั่วๆไป ทั้งนี้เกิดจากการเลือกใช้คำและโวหารของกวีที่งามเด่นทั้งรูป เสียง และความหมายได้อย่างกลมกลืนกัน อาทิ
๑.๑ การเลือกสรรคำเหมาะกับเนื้อเรื่อง
·       ในร่ายวรรค เลอหล้าลบล่มสวรรค์ นั้น จะเห็นได้ว่านอกจากกวีตั้งใจเล่นเสียงสัมผัสพยัญชนะให้ไพเราะแล้ว ยังให้ความหมายที่ดีเยี่ยมกวีใช้คำ เลอ ซึ่งมีความหมายตามตัวอักษรว่า เหนือ บน แต่คำนี้โดยปกติมักจะเห็นใช้คู่กับคำ เลิศ คือ เลอเลิศ หรือ เลิศเลอ อยู่เสมอ ดังนั้น เมื่อเห็นคำนี้ เมื่อเห็นคำนี้ ผู้อ่านย่อมอดจะประหวัดไปถึงความหมายทำนองว่าเป็นเลิศเป็นยอดมิได้ จึงให้ความรู้สึกว่า เลอหล้านั้น มิได้หมายถึงที่ได้นี้จะส่งความต่อเนื่องไปยังวลีที่ตามมาคือ ลบล่มสวรรค์ซึ่งหมายถึง ความงามเด่นของกรุงรัตนโกสินทร์นั้น ทำให้ความงามของสวรรค์ถูกทำลายให้สูญสิ้นจมหายไป (จากความรู้สึกของผู้อ่าน)
·       แย้มฟ้าเป็นตัวอย่างของการเลือกใช้คำง่ายที่มีรูปคำงาม เสียงไพเราะและมีความหมายดีให้ภาพที่ชัดเจนว่ากรุงรัตนโกสินทร์นั้นเผยโฉมเด่นอยู่บนท้องฟ้า (สอดคล้องกับที่กวีได้สดุดีแล้วว่า เลอหล้าลบล่มสวรรค์)
·       วลี เหลี้ยนล่งหล้า นั้น นอกจากกวีจะเน้นความโดยใช้คำทั้ง เหลี้ยน (เลี่ยน) และ ล่ง (โล่ง) ซึ้งให้ความรู้สึกเกลี้ยงว่างโดยตลอดแล้ว เสียงของคำทั้ง เหลี้ยน ล่ง และ หล้า ยังสื่อย้ำถึงความกว้างไกลอย่างที่สุดลูกหูลูกตาของแผ่นดิน มองดูปลอดโปร่งสบายตาไม่รู้สึกอึดอัดเพราะปราศจากสิ่งขัดขว้างใดๆ (ศัตรู) อนึ่ง กวีได้เน้นย้ำความเกลี้ยงว่างหรือความราบเรียบจริงๆ อีกชั้นหนึ่ง โดยการใช้ภาพพจน์อุปลักษณ์เปรียบให้เห็นภาพว่าง เหมือนกับพื้นผิวหน้ากลอง โดยรูปศัพท์แล้วกวีมิได้ใช้คำศัพท์ยาก คือ ไม่ใคร่มีคำบาลี สันสกฤต หรือสนธิสมาสมากนัก แต่ในทางความหมายนั้นจำต้องอ่านและตีความถ้อยคำโวหารที่กวีนำมาเรียบเรียงเข้าด้วยกันอย่างพิถีพิถัน ต้องทราบทั้งความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย เพราะกวีจะใช้คำในบริบทที่แปลกไปจากที่นักเรียนคุ้นเคย อีกทั้งในแต่ละวรรค กวียังใช้คำอย่างประหยัดอีกด้วย อนึ่ง การที่กวีมุ่งที่ความไพเราะอย่างยิ่งของเสียงของคำ เสียงสัมผัสในที่เป็นพยัญชนะในแต่ละวรรค อีกทั้งจังหวะของร่ายนั้นได้กลายเป็นข้อจำกัดอีกด้านหนึ่งที่ทำให้การอ่านร่ายบทนี้ต้องใช้ทั้งความรู้ด้านภาษาและจินตนาการเพื่อเข้าถึงอย่างลึกซึ้งส่วนโคลงแต่ละบทนั้นก็งดงามยิ่งทั้งเสียงและความหมาย โดยเฉพาะบทที่มีเนื้อหาคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รัก จะสังเกตได้ว่าแม้จะแต่งเป็นโคลง แต่กวียังคงใช้ศิลปะในการประพันธ์ดังเดิม เพียงแต่จะมีลีลาและท่วงทำนองแตกต่างกันไปตามลักษณะของเนื้อหา เช่น โคลงบทที่ว่า
โอ้ศรีเสาวลักษณ์ล้ำ                           แลโลม  โลกเอย
แม้ว่ามีกิ่งโพยม                                             ยื่นหล้า
แขวนขวัญนุชชูโฉม                                      แมกเมฆ  ไว้แม่
กีดบ่มีกิ่งฟ้า                                                   ฝากน้องนางเดียว
ดาวเด่นของโคลงบทนี้อยู่ที่เนื้อหาซึ่งแสดงจินตนาการอันแปลก โลดโผน และมีชีวิตชีวา ส่วนในด้านวิธีการประพันธ์นั้นอุดมด้วยศิลปะการประพันธ์ที่สูงมากทำให้โคลงบทนี้งดงามและไพเราะซาบซึ้ง
เมื่อกวีจะต้องจากนาง กวีเริ่มคิดว่า ตนควรจะฝากนางไว้ที่ใด กับใคร จึงจะปลอดภัย เนื่องจากกวีรักและยกย่องนางมาก สถานที่ที่เหมาะแก่การฝากนางจึงควรอยู่ในที่สูง คือบนฟ้าหรือบนสวรรค์นั้นเอง ดังนั้น กวีจึงคิดฝากนางนางแควนไว้บนกิ่งฟ้า โดยให้แอบอยู่หลังหมูเมฆเพื่อมิให้ผู้ใดพานพบ แต่กวีก็ต้องผิดหวังเพราะฟ้าหามีกิ่งไม่ กวีขึ้นต้นโคลงบทนี้ด้วยคำว่า โอ้ ซึ่งเป็นคำที่แสดงถึงการรำพึงรำพันคร่ำครวญของกวีด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล โดยมีคำ เอย รับในตอนจบบาทแรก
      ส่วนคำปละโวหารอื่นๆต่อจากนี้ จะเห็นว่ากวีได้พยายามเฟ้นคำมาใช้อย่างประณีตเพื่อเสียงอันไพเราะและการสื่อความได้อย่างมีน้ำหนัก เช่น กล่าวถึงนางว่า สีเสาวลักษณ์ล้ำคือนางผู้มีความงานเป็นเลิศ โดยผู้อ่านจะรู้สึกได้จากรูปคำ ศรี และ เสาวลักษณ์ ซึ่งเป็นคำในระดับสูง ว่านางมิได้งามอย่างธรรมดา แต่คงงามสง่าป็นที่ประโลมใจแก่ผู้ได้พบเห็น การที่กวีใช้วลีว่า แลโลมโลก นั้นเป็นโวหารที่ไพเราะ สั้นแต่กินความมาก
    คำ กิ่งโพยม หรือ กิ่งฟ้า เป็นคำที่มีรูปงาม เสียงไพเราะ และกระตุ้นจินตนาการได้ดี คำ ขวัญนุช แม่ น้องนาง ล้วนแต่เป็นคำที่อ่อนหวาน บ่งบอกถึงความรักของกวี ที่มีต่อนาวอย่างลึกซึ้ง ส่วนคำว่า เดียว นั้น ย้ำให้คิดว่ากวีไม่เคยมีนางอื่นใดอยู่ในใจอีก นอกจากนางอันเป็นที่รักนี้เพียงผู้เดียว อละเพราะเหตูนี้กวีจึงหว้าวุ่นใจนักเมื่อต้องจากนาง
    แมกเมฆ เป็นโวหารที่ไพเราะยิ่ง คำที่เรียงกันอยู่มีน้ำหนักเสียงเท่ากัน ทั้งพยัญชนะ สระ ตัวสะกด และวรรณยุกต์ ส่วนคำว่า กีด ซึ่งกวีเลือกมาใช้ได้อย่างเหมาะเจาะในที่นี้เป็นคำที่มีเสียงหนักและความหมายแรง สื่อถึงอุปสรรค ที่ทำให้จินตนาการของกวีพังทลายลง
     เมื่อพิจารณารวมกันทั้งบทแล้ว ผู้อ่านจะได้รับรสแห่งความอ่อนหวานของถ้อยคำและโวหารกวี ที่แสดงถึงความรัก ความห่วงหาอาทรที่มีต่อนางอย่างเต็มที่ ชวนให้ติดตามอ่านต่อไปว่าเมื่อฝากนางไว้กับกิ่งฟ้ามิได้ กวีจะฝากนางไว้กับใคร
  ๑.๒) การเลิกสรรคำที่มีเสียงเสนาะ
·       สัมผัส กวีเล่นเรียงสัมผัสทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษรภายในวรรณและระหว่างวรรค เพื่อเพิ่มความไพเราะ เช่น
          ถึงตระนาวตระหน่ำซ้ำ                       สวสาร อรเอย
จรศึกโศกมานาน                                          เนิ่นช้า
เดินดงท่งทางละนาน                                    หิมเวศ
สารสั่งทุกหย่อมหญ้า                                    ย่านน้ำลานาน
สัมผัสสระ                             หน่ำ - ซ้ำ ดง - ทง
สัมผัสอักษร                           ตระหนาว - ตระหน่ำ สง - สาร อร - เอย ศึก - โศก
                                               เดิน - ดง ท่ง - ทาง สาร - สั่ง หย่อม - หญ้า
สัมผัสระหว่างวรรค               ซ้ำ - สง (สาร) นาน – เนิ่น หาน - หิม (เวศ) หญ้า - ย่าน
·       การเล่นคำ กวีใช้คำเดียวซ้ำกันหลายแห่งในบทประพันธ์หนึ่งบท แต่คำที่ซ้ำกันนั้นมีความหมายต่างกัน เช่น
                  เห็นจากจากแจกก้าน            แกมระกำ
ถนัดระกำกรรมจำ                                  จากช้า
บาปใดที่โททำ                                        แทนเท่า ราแม่
จากแต่คาบนี้หน้า                                    พี่น้องคงถนอม
กวีเล่นคำที่ออกเสียงว่า จาก ซึ่งหมายถึง ต้นจาก และ การจากน้องมา กับคำที่ออกเสียงพ้องกันว่า กำ ซึ่งหมายถึง ต้นระกำ ความระกำช้ำใจ และ เวรกรรม

บทวิเคราะห์

บทวิเคราะห์
   นิราศนรินทร์คำโคลงทุกบทเปรียบเสมือนเพรชน้ำเอกที่ได้รับการเจียระไนอย่างงดงามมีความโดดเด่นทั้งถ้อยคำ ถ้อยความ และโวหารเปรียบเทียบที่ลึกซึ้งกินใจ เปี่ยมด้วยศิลปะการประพันธ์หลายประการ ดังนี้  ) ด้านกลวิธีการแต่ง
       ๒) ภาพพจน์
       ๓) ด้านสังคม

ความรู้เพิ่มเติม

ความรู้เพิ่มเติม
สวรรค์ (สันสกฤต: สฺวรฺค) หมายถึง ภพหนึ่งในคติของศาสนาต่าง ๆ เช่น ศาสนายูดาห์ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามอันเป็นสถานที่ตอบแทนคุณงามความดีของมนุษย์ที่ได้ทำไปเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลกนี้
สวรรค์ในพระพุทธศาสนา
 สวรรค์ในความเชื่อทางพระพุทธศาสนา แปลว่า ภูมิหรือดินแดนที่มีอารมณ์เลิศด้วยดี จำแนกออกได้เป็น 6 ชั้น คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี
 สวรรค์ คือ ภูมิอันเป็นที่อยู่ของเทวดา เป็นโลกที่อยู่อาศัยของกายละเอียดอันเป็นทิพย์ ที่มีรัศมีสว่างไสวรอบกายตลอดเวลา เหตุที่ทำให้มาเกิดเป็นเทวดาเพราะได้ สร้างบุญกุศลไว้เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ เมื่ออุบัติขึ้นก็ตั้งอยู่ในวัยหนุ่มสาวทันที งดงามตลอดเวลา จนกว่าจะถึงเวลาจุติ ไม่มีความแก่บังเกิดขึ้นเหมือนในเมืองมนุษย์ วิมานปราสาทคือที่อยู่อาศัยของเทวดา ล้วนมีความวิจิตรงดงาม มีขนาดแตกต่างกัน มี ความเป็นอยู่สะดวกสบาย มีอาหารทิพย์บังเกิด ขึ้น มีบริวารคอยรับใช้ใกล้ชิด เสื้อผ้าเป็นทิพย์ วิจิตรงดงาม บังเกิดขึ้นให้สวมใส่ กิจกรรมแต่ละวันก็มีการเที่ยวเพลิดเพลินบันเทิงอยู่กับการชมสวน การสังสรรค์กันระหว่างทวยเทพทั้งหลาย ส่วนจะอุบัติขึ้น ณ สวรรค์ชั้นไหน เป็น เทวดาประเภทใด และอยู่ในฐานะอะไรนั้น ก็ ขึ้นอยู่กับบุญที่ตัวเองสั่งสมมาเมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ ซึ่งได้มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 37 เรื่อง ทานสูตร สรุปย่อได้ดังนี้

๑.จาตุมหาราชิกา มีจาก หลายสาเหตุ คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ทำบุญไม่ค่อยเป็น ไม่รู้หลักการทำบุญ และไม่ค่อยได้สั่งสม บุญ นานๆ ทำครั้งหนึ่ง เมื่อทำก็ทำน้อย หรือ ทำบุญเอาคุณ บุญที่ได้ก็ไม่บริสุทธิ์ ไม่สมบูรณ์ บาปในตัวก็มีอยู่ แต่ว่าบุญมากกว่า เมื่อละโลกใจนึกถึงบุญก่อนก็ไปสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่ ณ เชิงเขาสิเนรุ สวรรค์ชั้นนี้จะมีความหลากหลายมากที่สุด เพราะอยู่ใกล้ชิดกับพื้นมนุษย์มากกว่าสวรรค์ชั้นอื่นๆ และมีบางส่วนที่มีที่อยู่ซ้อนกับภูมิมนุษย์ ที่ได้ชื่อสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา เพราะมีเทพผู้เป็นใหญ่ครองสวรรค์ชั้นนี้อยู่ 4 ท่าน คือ ท้าวธตรฐ ปกครองเทวดา 3 พวก ได้แก่ คนธรรพ์ วิทยาธร(พิทยาธร) กุมภัณฑ์ ท้าววิรุฬหก ปกครองพวกครุฑ ท้าววิรูปักษ์ ปกครองพวกนาค ท้าวเวสสุวรรณ ปกครองพวกยักษ์

จาตุมหาราชิกา (บาลี: Ca-tummaha-ra-jika, จาตุมฺมหาราชิก; สันสกฤต: Ca-turmaha-ra-jikaka-yika, จาตุรฺมหาราชิกกายิก) เป็นชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๑ ตามความเชื่อในพุทธศาสนา และเป็นสวรรค์ชั้นที่ต่ำที่สุดในฉกามาพจรสวรรค์ ๖ ชั้น (จัดอยู่ในกามภูมิตามคติไตรภูมิ) เรียกสั้น ๆ ว่า ชั้นจาตุม ก็มี มีที่ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาพระสุเมรุ
จาตุมหาราชิกา โดยศัพท์แปลว่า "แห่งมหาราชทั้งสี่" เมื่อแปลแบบเอาความจึงหมายถึง "แดนเป็นที่อยู่ของท้าวมหาราชทั้งสี่" หรือ "อาณาจักรของท้าวมหาราช ๔ องค์" กล่าวคือ สวรรค์ชั้นนี้เป็นดินแดนที่จอมเทพ  องค์ผู้รักษาคุ้มครองโลกใน ๔ ทิศ ซึ่งเรียกว่า ท้าวโลกบาล ท้าวจตุโลกบาล หรือ ท้าวจาตุมหาราช ปกครองอยู่องค์ละทิศ
เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกามีอายุ ๕๐๐ ปีทิพย์ (๓๐ วันเป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนเป็น ๑ ปี) โดย ๑ วันและ ๑ คืนของสวรรค์ชั้นนี้ เท่ากับ ๕๐ ปีของโลกมนุษย์ คำนวณเป็นปีโลกมนุษย์ได้ ๙,๐๐๐,๐๐๐ ปีโลกมนุษย์ (บางแห่งกล่าวว่าเท่ากับ ๙๐,๐๐๐ ปีโลกมนุษย์)

 ๒. ดาวดึงส์ คือเมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งดีงาม เป็นสิ่งที่ควรทำ กระทำแล้วก็สั่งสมบุญ สั่งสมเทวธรรม มีหิริ โอตตัปปะด้วย เมื่อละโลกก็จะไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่ที่หน้าตัดของเขาพระสิเนรุ ที่ชื่อว่า ดาวดึงส์ เพราะเป็นที่อยู่ของเทพผู้ปกครองภพถึง ๓๓ องค์ โดยมี สมเด็จอมรินทราธิราช หรือพระอินทร์ เป็นประธาน และที่สำคัญมีพระธาตุจุฬามณี ซึ่งทุกวันพระเทวดาจะมาประชุมกันที่สุธรรมาเทวสภา เพื่อรับฟังโอวาทจากท้าวสักกะดาวดึงส์ (บาลี: ตาวติส โลก) หรือ ตรัยตรึงศ์, ไตรตรึงษ์[1] (สันสกฤต: ตฺรายสฺตฺริศ โลก) เป็นชื่อของสวรรค์ (ภูมิของเทวดาทั้งหลาย) อันสำคัญยิ่งในจักรวาลวิทยาของศาสนาพุทธ คำว่า ตฺรายสฺตฺริศ เป็นรูปคำคุณศัพท์ของคำว่า ตฺรายสฺตฺริศตฺ (จำนวน ๓๓) อาจแปลความหมายได้ว่า "ที่อยู่ของเทพ ๓๓ องค์"
สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นสวรรค์ชั้นที่ ๒ จากสวรรค์ฉกามาพจรทั้ง ๖ ชั้น(จัดอยู่ในกามภูมิ) โดยอยู่สูงขึ้นไปถัดจากสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาขึ้นไป ๓๓๖,๐๐๐,๐๐๐ วา หรือ ๑๖๘,๐๐๐ กิโลเมตร ตั้งอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุอันสูง ๘๐,๐๐๐ โยชน์ ซึ่งเป็นจุดสูงที่สุดที่ยังเชื่อมอยู่กับมนุสสภูมิหรือโลกมนุษย์ (อาจเทียบได้กับยอดเขาโอลิมปัสในตำนานเทพปกรณัมกรีก) อาณาบริเวณโดยรอบ ๘๐,๐๐๐ ตารางโยชน์ มีท้าวสักกะหรือพระอินทร์เป็นผู้ปกครอง
เมืองบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ๓๓๖ เป็นเมืองใหญ่ที่สร้างอย่างงดงามด้วยทองและแก้ว ๗ ประการ มีเสียงดนตรีบรรเลงอยู่อย่างไพเราะ กลางเมืองดาวดึงส์มีปราสาทใหญ่ที่งดงามเป็นที่ประดับของพระอินทร์
บนสวรรค์ชั้นนี้มีอุทยานที่งดงามมากอยู่ ๔ แห่ง คือ
นันทวนุทยาน หรือ สวนนันทวัน (สวนที่รื่นรมย์) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในสวนด้านที่ใกล้กับตัวเมืองมีสระใหญ่ ๒ สระ สระหนึ่งมีชื่อว่า สระนันทาโบกขรณี อีกสระหนึ่งมีชื่อว่า จุลนันทาโบกขรณี มีแผ่นศิลา ๒ แผ่น แผ่นหนึ่งมีชื่อว่า นันทาปริถิปาสาณ อีกแผ่นหนึ่งมีชื่อว่า จุลนันทาปริถิปาสาณ เป็นศิลาที่มีรัศมีเรืองรอง เมื่อจับดูจะรู้สึกว่านิ่มเหมือนขนสัตว์
ผรุสกวัน หรือ ปารุสกวัน (ป่าลิ้นจี่) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันใต้ของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในอุทยานนี้ด้านใกล้ตัวเมือง มีสระใหญ่ ๒ สระ สระหนึ่งมีชื่อว่า ภัทราโบกขรณี อีกสระหนึ่งมีชื่อว่า สุภัทราโบกขรณี มีก้อนแก้วใส ๒ ก้อน ก้อนหนึ่งมีชื่อว่า ภัทราปริถิปาสาณ อีกก้อนหนึ่งมีชื่อว่า สุภัทราปริถิปาสาณ เป็นแก้วเกลี้ยงและอ่อนนุ่ม
จิตรลดาวัน (ป่ามีเถาวัลย์หลากสีสวยงาม) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ สระในอุทยานนี้มีชื่อว่า จิตรโบกขรณี และจุลจิตรโบกขรณี ส่วนแผ่นศิลาแก้วในอุทยานนี้แผ่นหนึ่งมีชื่อว่า จิตรปาสาณ อีกแผ่นหนึ่งมีชื่อว่า จุลจิตรปาสาณ
สักกวัน หรือ มิสกวัน (ป่าไม้ระคน) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันเหนือของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ สระใหญ่ในอุทยานนี้มีชื่อว่า ธรรมาโบกขรณี และสุธรรมาโบกขรณี ส่วนแผ่นศิลาแก้วมีชื่อว่า ธรรมาปริถิปาสาณ และสุธรรมาปิริถิปาสาณ

 ๓. ยามา เกิดบนสวรรค์ชั้นยามา คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญเพราะอยากจะสืบทอดและรักษาประเพณีแห่งความดีงามนั้นไว้ ทำนองว่าวงศ์ตระกูลสร้างสมความดีมาอย่างไร ก็อยากจะรักษาประเพณีไว้ หรือผู้หลักผู้ใหญ่สอนอย่างไร บรรพบุรุษทำมาอย่างไรก็ทำอย่างนั้น ทำกันไปตามธรรมเนียม เช่น เห็น ปู่ย่าสร้างโบสถ์ บำรุงวัด สร้างพระประธาน ก็ทำตามนั้นด้วย หรือพระภิกษุที่รักษาพระพุทธศาสนาเอาไว้ ตามธรรมเนียมปฏิบัติ ที่พระต้องมีหน้าที่รักษาพระพุทธศาสนา เมื่อละโลกแล้ว ส่วนใหญ่จะไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ขึ้นไป
พระโคตมพุทธเจ้าตรัสถึงสวรรค์ชั้นยามา ว่าเป็นสวรรค์ชั้นที่ ๓อยู่สูงกว่าดาวดึงส์ แต่ต่ำกว่าดุสิต มีท้าวสุยามะเป็นจอมเทพ ไตรภูมิพระร่วงระบุว่าสวรรค์ชั้นยามาอยู่สูงกว่าดาวดึงส์ไป ๘๔,๐๐๐ โยชน์ เทวดาในชั้นนี้มีปราสาทแก้ว ปราสาททอง ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว มีสวน สระบัวสวยงาม เทวดามีกายสูง ๘,๐๐๐ วา เนื่องจากสวรรค์ชั้นนี้อยู่สูงมาก แสงอาทิตย์จึงส่องมาไม่ถึง แต่สวรรค์ชั้นนี้ก็ไม่เคยมืดเพราะมีรัสมีจากกายของเทวดาส่องให้ทั้งภูมินี้สว่างไสวอยู่ตลอดเวลา เมื่อจะกำหนดวันคืน เทวดาในชั้นนี้จะดูจากดอกไม้ทิพย์ หากดอกไม้บานแสดงว่าเป็นเวลารุ่งเช้า หากดอกไม้หุบเป็นเวลากลางคืน
อายุของเทวดาในชั้นยามายาวนานถึง ๒,๐๐๐ ปีทิพย์ ซึ่งเท่ากับ ๑๔๔,๐๐๐,๐๐๐ ของปีมนุษย์

 ๔. ดุสิต คือ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ ทำบุญเพื่อปรารถนาสงเคราะห์โลก ปรารถนาให้ชาวโลกมีความสุข มีความคิดที่ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เพื่อตนเองอย่างเดียว แต่เพื่อสงเคราะห์โลก เพื่อนมนุษย์ และสรรพ-สัตว์ทั้งหลายด้วย เมื่อละโลกแล้วก็จะไปสวรรค์ ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงถัดจากสวรรค์ชั้นยามาขึ้นไป
พระโคตมพุทธเจ้าตรัสถึงสวรรค์ชั้นดุสิต ว่าเป็นสวรรค์ชั้นที่ ๔ อยู่สูงกว่ายามา แต่ต่ำกว่านิมมานรดี มีท้าวสันดุสิตเป็นจอมเทพ ไตรภูมิพระร่วงระบุว่าสวรรค์ชั้นนี้อยู่สูงกว่าชั้นยามาไป ๑๖๘,๐๐๐ โยชน์ มีปราสาทแก้ว ปราสาททอง ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว มีสวน สระบัวสวยงามยิ่งกว่าสวรรค์ชั้นที่อยู่ต่ำกว่า เป็นที่ประทับของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย โดยเฉพาะพระโพธิสัตว์ที่กำลังจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป โดยมีพระศรีอริยเมตไตรยดำรงตำแหน่งเป็นท้าวสันดุสิตจอมเทพองค์ปัจจุบันของสวรรค์ชั้นนี้
อายุของเทวดาในชั้นดุสิตยาวนานถึง ๔,๐๐๐ ปีทิพย์ ซึ่งเท่ากับ ๕๗๖,๐๐๐,๐๐๐ ของปีมนุษย์

 ๕. นิมมานรดี คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ให้ทานโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ไม่มีจิตใจผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ให้ทานเพราะมีความสุขในการให้ ให้ทานด้วยคิดว่า "เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เช่นเดียวกับท่านฤๅษี ทั้งหลายคือ ท่านอัฏฐกฤๅษี ท่าวามกฤๅษี ท่านวาม เทวฤๅษี ท่านเวสสามิตรฤๅษี ท่านยมทัคคฤๅษี ท่านอังคีรสฤๅษี ท่านภารทวาชฤๅษี ท่านวาเสฏฐฤๅษี ท่านกัสสปฤๅษี ท่านภคุฤๅษี" เขาผู้นั้น ให้ทานด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เมื่อทำ กาลกิริยาตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย แห่งเทวดาทั้งหลาย ในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี
พระโคตมพุทธเจ้าตรัสถึงสวรรค์ชั้นนิมมานรดี ว่าเป็นสวรรค์ชั้นที่ ๕ อยู่สูงกว่าชั้นดุสิต แต่ต่ำกว่าชั้นปรนิมมิตวสวัตดี มีท้าวสุนิมมิตเป็นจอมเทพ ไตรภูมิพระร่วงระบุว่าสวรรค์ชั้นนี้อยู่สูงกว่าชั้นดุสิตไป ๓๓๖,๐๐๐ โยชน์ มีวิมานทอง กำแพงแก้ว กำแพงทองล้อมรอบ แผ่นดินเป็นทองราบเรียบเสมอกันโดยตลอด เทวดาในชั้นนี้ปรารถนายินดีในสิ่งใดก็สามารถเนรมิตขึ้นมาได้เองตามปรารถนาทุกประการ จึงได้ชื่อว่า "นิมมานรดี" (ยินดีในการเนรมิต)
อายุของเทวดาในชั้นนิมมานรดียาวนานถึง ๘,๐๐๐ ปีทิพย์ ซึ่งเท่ากับ ๒,๓๐๔,๐๐๐,๐๐๐ ของปีมนุษย์

๖. ปรนิมมิตวสวัตดี คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญด้วยความเลื่อมใส เคารพในทาน ทำแล้วมีความรู้สึกปลื้มใจ ในบุญที่ทำนั้น เมื่อละโลกแล้วจะบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงจากสวรรค์ชั้นนิมมานรดีขึ้นไป
พระโคตมพุทธเจ้าตรัสถึงสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ว่าเป็นสวรรค์ชั้นที่ ๖ อยู่สูงกว่านิมมานรดี แต่ต่ำกว่าพรหมภูมิ มีท้าววสวัตดีเป็นจอมเทพเพียงพระองค์เดียว ไตรภูมิพระร่วงระบุว่าสวรรค์ชั้นนี้อยู่สูงกว่านิมมานรดีไป ๖๗๒,๐๐๐โยชน์ และระบุต่างจากพระไตรปิฎกว่าสวรรค์ชั้นนี้มีจอมเทพสององค์คือ ท้าวปรนิมมิตวสวัตดีเทวราชและพญามาราธิราช หากว่าเทวดาในสวรรค์ชั้นนี้ปรารถนาสิ่งใดก็ไม่ต้องเนรมิตขึ้นเอง แต่จะมีเทวดาองค์อื่นมาเนรมิตให้ จึงได้ชื่อว่า "ปรนิมมิต" (ผู้อื่นเนรมิต)
อายุของเทวดาในชั้นปรนิมมิตวสวัตดียาวนานถึง ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์ ซึ่งเท่ากับ ๘,๒๑๖,๐๐๐,๐๐๐ปีมนุษย์ นางวิสาขา ก็มาอุบัติในสวรรค์ชั้นนี้
เขาพระสุเมรุ ตามคติในศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนา คือภูเขาที่เป็นหลักของโลก ตั้งอยู่จุดศูนย์กลางของโลกหรือจักรวาล เป็นที่อยู่ของสิ่งมีวิญญาณในภพและภูมิต่างๆ นับแต่สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน ไปถึงมนุษย์นาค ครุฑ ยักษ์มาร คนธรรพ์ ฤๅษี และเทวดา โดยมีปลาอานนท์หนุนอยู่ รอบๆ เขาพระสุเมรุ

เขาพระสุเมรุตั้งอยู่เหนือน้ำ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ มีภูเขารองรับ ๓ ลูก โดยส่วนฐานคือ ตรีกูฏ (สามเส้าหรือสามยอด) มีภูเขาล้อมรอบ ๗ ทิว เรียกว่า สัตตบริภัณฑคีรี คือ ทิวเขา ยุคนธร กรวิก อิสินธร สุทัศ เนมินธร วินตกและอัสกัณ มีเทวดาจตุมหาราชิก และบริวารสถิตอยู่

ภายในจักรวาลมีภูเขาชื่อ หิมวา (หิมาลัย) ของจักรวาลทั้งหมด เป็นเทือกเขายาวติดกัน เป็นพืด เรียกว่าเขาจักรวาล โดยแต่ละจักรวาลมีพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาวดึงส์ ยังมีมหาทวีปทั้ง ๔ คือ
อุตรกุรุทวีป ตั้งอยู่เหนือของภูเขาพระสุเมรุ
ปุพพวิเทหะ ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเขาพระสุเมรุ
ชมพูทวีป ตั้งอยู่ตอนใต้เขาพระสุเมรุ คือโลกของเรา
อมรโคยาน ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเขาพระสุเมรุ
ในมหาทวีปยังมีทวีปน้อย ๆ เป็นบริวารอีก ๒,๐๐๐ ทวีป

ในทิศทั้ง ๔ ของจักรวาล มีมหาสมุทรทั้ง ๔ อันมีน้ำเต็มเป็นนิจ ประกอบด้วย
ปิตสาคร ทางทิศเหนือ มีน้ำสีเหลือง
ผลิกสาคร ทางทิศตะวันตก มีน้ำใสสะอาด เหมือนแก้วผลึก
ขีรสาคร เกษียรสมุทร ทางทิศตะวันออก มีน้ำสีขาว
นิลสาคร ทางทิศใต้ มีน้ำสีเขียว
บนยอดเขาพระสุเมรุ คือสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีนครแห่งเทพที่ชื่อนครไตรตรึงษ์อยู่ มีพระอินทร์เทวราชเป็นผู้ปกครองทำหน้าที่เป็นเทวราชผู้อภิบาลโลก และพิทักษ์คุณธรรมให้แก่มนุษย์ ที่อยู่ของพระอินทร์เรียกว่าไพชยนต์มหาปราสาท ตรงกลางเป็นที่ประดิษฐานแท่นบัณฑุกัมพลอันเป็นทิพยอาสน์

ตำนานฝ่ายพราหมณ์เล่าว่า พระอิศวรทรงสร้างน้ำด้วยพระเสโท (เหงื่อ) สร้างแผ่นดินด้วยเมโท (ไคล) ของพระองค์ บางตำนานเล่าว่าทรงสำรอกพระมังสะในพระอุระออกมาบันดาลให้เป็นแผ่นดิน

คำศัพท์4

๘๐.กฤษณะ                            คือ พระนารายณ์
๘๑.พิโยค                                พลัดพราก
๘๒.ร่ำรื้อ                                 คล่ำครวญซ้ำไปซ้ำมา
๘๓.นทีสี่สมุทร                       มหาสมุทรที่อยู่รอบเขาพระสุเมรุจากไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา กล่าวว่า
มหาสมุทรด้านทิศตะวันออกชื่อ ขีรสาคร มีน้ำสีขาว
มหาสมุทรด้านทิศใต้ชื่อ นีลสาร น้ำสีน้ำเงินอมม่วง
มหาสมุทรด้านทิศตะวันตกชื่อ ผลิกสาคร มีน้ำสีขาวใส
มหาสมุทรด้านทิศเหนือชื่อ ปีตสาคร มีน้ำสีเหลือง
๘๔.ติมิงคล์                             ชื่อปลาใหญ่หนึ่งในเดตัวที่อยู่ในแม่น้ำสีทันดรที่กั้นระว่า
เขาสัตตบริภัณฑ์ (เขา ๗ ลูก) ที่อยู่รอบเขาพระสุเมรุ
๘๕.ผาย                                   แผ่กว้างออก
๘๖.ผาด                                   ผ่าน เคลื่อนไปอย่างเร็ว
๘๗.เถ้า                                    คำโทโทษ คือ เท่า
๘๘.รุม                                     ร้อน
๘๙.พวงมาเลศ                         พวงดอกไม้ หมายถึง นางอันเป็นที่รัก
๙๐.พิมล                                  ปราศจากมลทิน
๙๑.จาร                                    จาลึก บันทึก
๙๒.เลข                                   เขียนหนังสือ
๙๓.หยาดฟ้า                            งามราวกับลงมาจากฟ้า
๙๔.ขั้น                                    มาจากโคล่น หมายถึง ล้ม ทลายลง
๙๕.หกฟ้า                                สวรรค์ ๖ ชั้น
๙๖.สี่หล้า                                ทวีปทั้งสี่ คือ อุตตรกุรุทวีป (เหนือ) ชมพูทวีป (ใต้)บุพพวิเทหทวีป(ตะวันออก)อมรโคยานทวีป(ตะวันตก)
๙๗.ร่ำ                                      พูดซ้ำ
๙๘.กำสรวล                            โศกเศร้า คร่ำครวญ

๙๙.ครุ่น                                   บ่อย

คำศัพท์3

๔๖.ก่ำฟ้า                                 สว่างทั่วท้องฟ้า (ก่ำ=แดงจัด,สุกจัด)
๔๗.เฟือน                                ทำให้หมองลง
๔๘.เปลื้องปลิดอก                  พรากเอาหัวใจไป หมายความว่า ต้องจำใจจากไป ราวกับต้องปลิดหัวใจของตนออกไปจากนาง
๔๙.เยียวว่า                              ถ้าว่า แม้ว่า
๕๐.แล่ง                                   ผ่าออก
๕๑.เทพไท้                              เทวดาผู้เป็นใหญ่
๕๒.ธรณินทร์                         ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน พระเจ้าแผ่นดิน
๕๓.กล้ำ                                  ในที่นี้หมายถึง เชยชม
๕๔.เลื่อน                                พาไป
๕๕.ชาย                                  พัด
๕๖.ชัก                                    ทำให้
๕๗.อุมา                                  คือ พระอุบา ชายาพระอิศวร
๕๘.ลักษมี                               คือ พระลักษมี ชายาพระนารายณ์
๕๙.สวยมภูว                           พระผู้เป็นเอง  คือ พระอิศวร
๖๐.จักรี                                   ผู้ทรงจักร คือ พระนารายณ์
๖๑.เกลือก                               หาก บางที
๖๒.ตรีโลก                              สามโลก คือ มนุษย์ สวรรค์ บาดาล    
๖๓.เมียงม่าน                           แอบมองผ่านหลังม่าน
๖๔.คล่าว                                 ไหลหลั่ง
๖๕.เรือแผง                              เรือมีม่านบัง  สำหรับกุลสตรีในสมัยก่อนนั่ง
๖๖.คล้อง                                 รับ
๖๗.บก                                     แห้ง
๖๘.ไล้                                     ลูบหรือทาละเลงไปทั่ว
๖๙.เบญจลักษณ์                      ลักษณะอันงดงาม ๕ ประการของสตรี ได้แก่ ผมงาม คือ มีผมเป็นเงางาม เนื้องาม คือ มีริมฝีปากงามแดงดังผลตำลึง ฟันงาม คือ มีฟันเรียบขาว ผิวงาม คือ มีผิวละเอียดอ่อน และวัยงาม คือ เนื้อหนัง ยังเต่งตึงอยู่จนแก่หรือแม้จะคลอดบุตรกี่ครั้งแล้วก็ตาม
๗๐.จาก                                   ชื่อต้นไม้ (กริยา=จาก)
๗๑.แจกก้าน                           แตกกิ่งก้าน
๗๒.โท                                   สอง(เราทั้งสอง)
๗๓.ต่ายแต้ม                           มีรูปรอยกระต่าย
๗๔.ตระนาว                           ชื่อเมืองน่าจะหมายถึง ตระนาวศรี
๗๕.ตระหน่ำ                           ซ้ำเติม
๗๖.ท่ง                                     ทุ่ง
๗๗.หิมเวศ                              หิมพานต์ เป็นชื่อป่าที่เชิงเขาพระสุเมรุ ในที่นี้หมายถึงป่าทั่วๆไป
๗๘.พักเนตร                           พระอินทร์ ซึ่งมีนามว่า สหัสนัยน์

๗๙.พักตร์สี่แปด                     โสตสี่หน้า คือ พระพรหม