๒) ภาพพจน์
๒.๑) การเปรียบเทียบเกินจริง คือ การกล่าวเกินจริง
เพื่อให้ได้คุณค่าทางอารมณ์เป็นสำคัญในโครงบทที่ ๑๓๙ที่ว่า
เอียงอกเทออกอ้าง
อวดองค์ อรเอย
เมรุชุบสมุทรดินลง
เลขแต้ม
อากาศจักจารผดง จารึก พอฤา
โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม
อยู่ร้อนฤาเห็น
กวีใช้คำ เอียงอกเท แทนสิ่งที่อยู่ในใจ
ใช้เขาพระสุเมรชุบน้ำและดินแทนปากกาเขียนข้อความในโอกาส ซึ่งล้วนเป็นลักษณะที่เกินความจริง
ส่วนบทที่แสดงการคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รัก
ไม่มีบทใดหนักแน่นเท่ากับโครงบทที่ ๑๔๐ ที่ว่า
ตราบขุคิริข้น
ขาดสลาย แลแม่
รักบ่หายตราบหาย หกฟ้า
สุริยจันทรขจาย
จากโลก ไปฤา
ไฟแล่นล้างสี่หล้า ห่อนล้างอาลัย
โครงบทนี้เป็นตัวอย่างของการใช้กวีโวหารเปรียบเทียบที่โลดโผนอีกบทหนึ่งกวีใช้ภาพพจน์ชนิดอธิพจน์
ซึ่งเป็นการกล่าวเกินจริงเพื่อสร้างอารมณ์และความรู้สึก ในที่นี้เมื่ออ่านแล้ว
นักเรียนจะเห็นโอกาสที่กวีจะสิ้นอาลัยนางมิอาจเป็นไปได้เลย เพราะกว่าที่ขุนเขา
สวรรค์ทั้ง๖ชั้น ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์จะสูญสลายไปจากโลกนั้น
คงนานแสนนานจนกำหนดนับมิได้และกว่าจะมีไฟบรรลัยกัลป์มาล้างโลกทั้ง ๔ นั้น
ก็ต้องกินระยะเวลาอันยาวนานที่มิอาจนับได้เช่นกัน ดังนั้น
โครงบทนี้จริงเป็นโครงปิดฉากการคร่ำครวญได้อย่างงดงาม
โดยการให้ปฏิญญาที่มีน้ำหนักมากที่สุดแก่นางคือ
กวีจะมิมีวันสิ้นรักและอาลัยนางนั้นเอง
๒.๒)
การใช้บุคคลวัต กวีใช้การสมมติสิ่งต่างๆ
ที่ไม่ใช่มนุษย์ให้มีกิริยาอาการความรู้สึกเหมือนมนุษย์
จากมามาลิ่วล้ำ
ลำบาง
บางยี่เรือราพลาง พี่พร้อง
เรือแผงช่วยพานาง เมียงม่าน
มานา
บางบ่รับคำคล้อง คล่าวน้ำตาคลอ
จะเห็นได้ว่ากวีใช้บางยี่เรือและเรือแผงให้มีกิริยาเหมือนมนุษย์
คือ ให้บางยี่เรือช่วยเอาเรือแผงไปรับนางมาแต่นางยี่เรือก็ไม่รับคำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น